Are you looking for professional business hosting, read my ipage review or find the best vps hosting

การติดตามภาวะการมีงานทำ


ตัวบ่งชี้ที่ 4.4 งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ (สมศ.๕)

ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลผลิต

การคิดรอบปี : ปีการศึกษา

คำอธิบายตัวบ่งชี้ : การวิจัยเป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา การดำเนินการตามพันธกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จนั้น สามารถพิจารณาได้จากผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพและมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางจากการเปรียบเทียบจำนวนบทความวิจัยที่ตีพิมพ์และจำนวนผลงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติกับจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ

เกณฑ์การประเมิน

กำหนดระดับคุณภาพงานวิจัยที่ตีพิมพ์ ดังนี้

ค่าน้ำหนัก

ระดับคุณภาพงานวิจัย

๐.๒๕

มีรายงานตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ/ระดับนานาชาติ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI

๐.๕๐

มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีชื่อปรากฏอยู่ในประกาศของ สมศ.

๐.๗๕

มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีชื่อปรากฏอยู่ในประกาศของ สมศ.

๑.๐๐

มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank: www.scimagojr.com) โดยวารสารนั้นถูกจัดอยู่ในควอไทล์ที่ ๑ - ๔ (Q– Q๔) ในปีล่าสุด ใน subject category ที่ตีพิมพ์ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล ISI และScopus



กำหนดระดับคุณภาพงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ ดังนี้

ค่าน้ำหนัก

ระดับคุณภาพงานสร้างสรรค์ *

๐.๑๒๕

งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับสถาบันหรือจังหวัด

๐.๒๕

งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติ

๐.๕๐

งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ

๐.๗๕

งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับภูมิภาคอาเซียน

๑.๐๐

งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ

* องค์ประกอบของคณะกรรมการไม่น้อยกว่า ๓ คน และต้องมีบุคคลภายนอกสถานศึกษาร่วมพิจารณาด้วย

 

วิธีการคำนวณ


ผลรวมถ่วงน้ำหนักของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่

—————————————————————————————— ×  ๑๐๐

จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำทั้งหมด


เกณฑ์การให้คะแนน :

ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ โดยกำหนดร้อยละเท่ากับ ๕ คะแนน จำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา ดังนี้

กลุ่มสาขาวิชา

ร้อยละ

วิทยาศาสตร์สุขภาพ

๒๐

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๒๐

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

๑๐

 

การคิดคะแนนระดับคณะ ให้นำคะแนนที่คิดได้ของแต่ละกลุ่มสาขาวิชามาหาค่าเฉลี่ยและการคิดคะแนนระดับสถาบัน

ให้นำคะแนนที่คิดได้ในแต่ละคณะมาหาค่าเฉลี่ย


 
free pokerfree poker