Are you looking for professional business hosting, read my ipage review or find the best vps hosting

การติดตามภาวะการมีงานทำ

logonmc

แนวปฏิบัติที่ดีด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

แนวปฏิบัติที่ดี   คือ วิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้หน่วยงานประสบความสำเร็จหรือนำไป สู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับและมีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติตลอดจนความรู้และประสบการณ์ ที่ได้บันทึกเป็นเอกสาร และเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้

ส่วนประกอบในการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีของหน่วยงาน มีดังนี้

1.  หลักการ/ความเป็นมา

2. เป้าหมายของการดำเนินงาน

3.  กระบวนการ/ขั้นตอน

4.  ผลประโยชน์ที่ได้รับ

5.  ความโดดเด่นของการนำไปขยายผลกับหน่วยงานอื่น

หลักการและความเป็นมา

ในระยะแรกของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยนครราชสีมา  ความ เข้าใจในตัวชี้วัดของบุคลากรยังไม่ชัดเจน มีการปรับเปลี่ยนตัวชี้วัดทุกปีการมีส่วนร่วมของบุคลากรค่อนข้างน้อย รวมทั้งขาดการสร้างความรู้ในงานประกันคุณภาพลงสู่ผู้มารับบริการทางวิชาการ และขาดการสร้างเครือข่ายงานประกันคุณภาพกับหน่วยงานอื่นเพื่อแก้ปัญหาดัง กล่าว งานประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยนครราชสีมา จึงได้กิจกรรม อบรมให้ความรู้ด้านประกันคุณภาพแก่บุคลากร”   ขึ้น ในปีการศึกษา 2555 เพื่อ ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพ ตระหนักถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพ รู้บทบาทหน้าที่ของตนต่อการประกันคุณภาพ   ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ การสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมต่อไป

เป้าหมายการดำเนินงาน

กิจกรรม อบรมให้ความรู้ด้านประกันคุณภาพแก่บุคลากร”   มี เป้าหมายเพื่อให้บุคลากร มีความรู้ความเข้าใจ ในบทบาทและหน้าที่ต่อการประกันคุณภาพ สร้างทัศนคติที่ดีต่อการประกันคุณภาพ พัฒนาศักยภาพของบุคลากร ได้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงานประกันคุณภาพ นำไปสู่การพัฒนา

ระบบการประกันคุณภาพ และการทำงานอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2. กำหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา

3. จัดทำแผนปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการศึกษา

4. กำหนดผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ในองค์ประกอบคุณภาพ

5. สร้างความรู้ความเข้าใจในตัวบ่งชี้ในองค์ประกอบคุณภาพ ให้กับบุคลากร

6. สร้างเครือข่ายงานประกันคุณภาพการศึกษากับหน่วยงานภายนอก

7. พัฒนาระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพการศึกษา

8. กำหนดผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้รวบข้อมูลและจัดทำรายงานประเมินตนเอง

9. ปรับปรุงรายงานประเมินตนเองและเตรียมความพร้อมรับการประเมินจากคณะกรรมการ

10. รับการประเมินจากคณะกรรมการ

11. เผยแพร่ผลการดำเนินงานประกันคุณภาพ

12. จัดทำรายงานประเมินตนเอง

13. รับการประเมินจากคณะกรรมการภายนอก

14. เผยแพร่ผลการดำเนินงานประกันคุณภาพ

15. คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษานำผลการประเมินวางแผนปรับปรุงแก้ไข

16. จัดทำแผนปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา 2555

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. บุคลากร ให้ความร่วมมือ มีความกระตือรือร้นและทำงานเป็นทีมในการดำเนินงานประกัน คุณภาพการศึกษา

2. บุคลากร ได้รับความรู้งานประกันคุณภาพการศึกษาและมีส่วนร่วมในระบบประกันคุณภาพของวิทยาลัยมากขึ้น

3. วิทยาลัย ได้เครือข่ายด้านการประกันคุณภาพกับหน่วยงานภายนอก ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีจากหน่วยงานอื่น

4. คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้พัฒนาศักยภาพตนเองอย่างต่อเนื่อง

5. บุคลากร มีขวัญกำลังใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

จุดเด่นของกิจกรรม

กิจกรรม อบรมให้ความรู้ด้านประกันคุณภาพแก่บุคลากร”   เป็น การส่งเสริมให้บุคลากรเกิดทีมงานที่มีคุณภาพและเกิดการมีส่วนร่วมที่แท้จริง ในการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพ บุคลากรมีความเข้าใจในตัวบ่งชี้และเกิดความมั่นใจในการทำงานประกันคุณภาพมาก ขึ้นและเกิดบรรยากาศที่ดีในองค์กร

 
free pokerfree poker