Are you looking for professional business hosting, read my ipage review or find the best vps hosting

การติดตามภาวะการมีงานทำ

logonmc

ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา

กระบวนการประกันคุณภาพ ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

 

1) การควบคุมคุณภาพภายใน (Internal  Quality  Control) เป็น ส่วนที่สถาบันอุดมศึกษา จะต้องจัดให้มีระบบและกลไกการควบคุมคุณภาพภายในขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะมีผลต่อคุณภาพของบัณฑิต และต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักการของการควบคุมคุณภาพที่เหมาะสม พร้อมทั้งการมีระบบตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการภายในด้วย

2) การตรวจสอบคุณภาพ (Quality  Auditing) หมาย ถึง การตรวจสอบผลการดำเนินการของระบบและกลไกควบคุมคุณภาพภายในที่สถาบันอุดม ศึกษาได้จัดให้มีขึ้น โดยจะเป็นการตรวจสอบเชิงระบบ มุ่งเน้นการพิจารณาว่า สถาบันได้มีระบบการควบคุมคุณภาพหรือไม่ได้ใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นเพียงใด และมีขั้นตอนการดำเนินการที่จะทำให้เชื่อถือได้หรือไม่ว่า การจัดการศึกษาจะเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ มุ่งเน้นการตรวจสอบในคณะวิชาเป็นหลัก

3) การประเมินคุณภาพ (Quality  Assessment) หมาย ถึง กระบวนการประเมินผลการดำเนินการของคณะวิชาโดยภาพรวมว่าเมื่อได้มีการใช้ระบบ การประกันคุณภาพ หรือระบบควบคุมคุณภาพแล้วได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพมากน้อย เพียงใด ทั้งนี้ การตรวจสอบและประเมินคุณภาพนี้จะกระทำอย่างเป็นระบบ โดยมีกฎเกณฑ์และแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจน

1) การประกันคุณภาพภายใน หมาย ถึง กิจกรรมการควบคุมคุณภาพภายในสถาบันอุดมศึกษา โดยการดำเนินการของสถาบันอุดมศึกษาเอง เพื่อให้มีความมั่นใจว่าสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามภารกิจหลักอย่างมี คุณภาพกระบวนการประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วย

(1) การควบคุมคุณภาพ

(2) การตรวจสอบคุณภาพ

(3) การประเมินคุณภาพ

2) การประกันคุณภาพภายนอก หมาย ถึง การดำเนินการตามระบบควบคุมคุณภาพภายในพร้อมทั้งการตรวจสอบและการประเมินผล ทั้งระบบ โดยหน่วยงานภายนอก เพื่อประกันว่าสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการภารกิจหลักได้อย่างมีคุณภาพ


ความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพการศึกษา

ภายในกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก


 

ความแตกต่างระหว่างการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการประกันคุณภาพการศึกษา


1) เกิด การพัฒนาคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ระดับมาตรฐานสากลและ มีความเป็นเลิศ ทางวิชาการ ตามจุดเน้นและอัตลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษา

2) การใช้ทรัพยากรในการบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3) การบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล อันจะทำให้การผลิตบัณฑิตทุกระดับ การสร้างผลงานวิจัย และการให้บริการวิชาการ เกิดประโยชน์สูงสุด และตรงกับความต้องการของสังคมและประเทศ

4) สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานบริหารการศึกษา และรัฐบาล มีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นระบบในการกำหนดนโยบาย วางแผน และบริหารจัดการการศึกษา

5) นักศึกษา และผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

6)  ผู้ประกอบการ  ชุมชน  สังคมและประเทศชาติได้เยาวชนและคนที่ดีมีคุณภาพและศักยภาพที่จะช่วยทำงาน พัฒนาองค์กร  ชุมชน  สังคมและประเทศชาติต่อไป

7)  บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาได้ทำงานอย่างมืออาชีพ  ได้ทำงานที่เป็นระบบที่ดี  มีประสิทธิภาพ  โดยเน้นการสร้างวัฒนธรรมองค์กร  มีทิศทางการจัดการศึกษาที่ชัดเจนตามมาตรฐานกลางที่กำหนด

กระบวนการและวิธีการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษากำหนดเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 กำหนดแนวทางควบคุมคุณภาพ

1) กำหนดองค์ประกอบ ตัวชี้วัดและเกณฑ์ประเมินตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับสภาพของวิทยาลัย

2) กำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์ประเมินชี้วัด ตามภารกิจหลักของหน่วยงานระดับ ฝ่าย คณะ สำนัก

ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาระบบงานของวิทยาลัย

1) กำหนดพันธกิจ ปรัชญา วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

2) กำหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา

3) จัดทำแผนประกันคุณภาพการศึกษา

4) กำหนดกรอบภาระงานประกันคุณภาพการศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา คณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหน่วยงาน  ระดับคณะ  และระดับสถาบัน

5) ประเมินตามกรอบภาระงานประกันคุณภาพการศึกษา

ขั้นตอนที่ 3 การจัดระบบเอกสาร

1) คู่ มือการประกันคุณภาพ เป็นเอกสารที่ระบุนโยบายและแนวทางในการดำเนินการประกันคุณภาพรวมทั้งราย ละเอียดของโครงสร้างการบริหารงาน ภารกิจหลักและองค์ประกอบต่างๆ ของหน่วยงานเป็นลายลักษณ์อักษร

2) รายงานประเมินตนเอง (SAR) เป็นเอกสารที่รายงานผลการประเมินตนเองของหน่วยงาน เป็น เอกสารที่แสดงถึงผลการดำเนินประกันคุณภาพของหน่วยงาน หน่วยงานแต่ละหน่วยจะต้องรวบรวมเอกสาร ระเบียน คำสั่งหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพของหน่วยงานเป็นรูปเล่มไว้ประจำหน่วยงานของ ตน พร้อมที่จะให้กรรมการตรวจสอบและประเมินผลของวิทยาลัยได้ตรวจสอบ

ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบคุณภาพภายใน แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

ระดับที่ 1 หน่วยงาน  ศูนย์ สำนักงาน  วิทยาลัย จะตรวจสอบความพร้อมของข้อมูลและเอกสารที่จะนำมาใช้เป็นข้อมูลส่วนกลางเพื่อ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินภายในของสถาบันดำเนินการประเมิน

ระดับที่ 2 สาขาวิชาและ คณะ วิทยาลัย จะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิหรือคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน เพื่อตรวจสอบในระดับต้น ผลการตรวจสอบจะเป็นข้อมูลในการจัดทำในการประเมินตนเอง ระดับหน่วยงาน  คณะ สำนัก และเตรียมความพร้อมเพื่อรับการตรวจสอบจากคณะกรรมการระดับวิทยาลัยประเมินคุณภาพภายใน

ระดับที่ 3 ระดับสถาบันการ ตรวจสอบระดับนี้ ดำเนินการโดยคณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิที่ วิทยาลัยแต่งตั้งขึ้น เพื่อตรวจสอบหน่วยงานระดับหน่วยงาน คณะ สำนัก รายงานผลการตรวจสอบของหน่วยงานภายใน จะได้รับการประมวลเพื่อจัดทำสรุปเป็นการรวบรวมเสนอผู้บริหาร เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาวิทยาลัย และเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกต่อไป


ลำดับขั้นตอนการประเมินคุณภาพภายในวิทยาลัยนครราชสีมา


ขั้นตอนที่ 5 การตรวจสอบคุณภาพภายนอก

การประเมินคุณภาพระดับนี้ ดำเนินการโดยผู้ประเมินภายนอก ซึ่ง สมศ. (องค์การมหาชน) เป็นผู้มอบหมายให้ดำเนินการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา โดยการ

- ศึกษาและรวบรวมข้อมูลการรายงานผลการประเมินตนเอง (SAR) ของวิทยาลัย

- เก็บข้อมูลจากเอกสาร รายงานต่าง ๆ ดูการปฏิบัติจริง

- สังเกต สอบถาม สัมภาษณ์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้เสีย

 
free pokerfree poker